ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน สารทำความเย็นที่ใช้ในการปรับอากาศถือเป็นหนึ่งในปัญหาที่ต้องจัดการอย่างเร่งด่วน เนื่องจากสารทำความเย็นเหล่านี้ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกในปริมาณมาก เพราะมักผลิตขึ้นด้วยสารประกอบที่มีศักยภาพสูงในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming Potential: GWP) ซึ่งส่งผลให้สภาพภูมิอากาศแปรปรวนรุนแรงยิ่งขึ้น
ทำความรู้จัก Global Warming Potential (GWP)
ค่าศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อน หรือ Global Warming Potential (GWP) คือการวัดปริมาณความร้อนที่ถูกกักเก็บในชั้นบรรยากาศด้วยก๊าซเรือนกระจกชนิดใด ๆ เมื่อเทียบกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งมักอยู่ในช่วงเวลา 100 ปี โดยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะมีค่า GWP เท่ากับ 1 ทั้งนี้ ยิ่งสารนั้นมีค่า GWP สูงเท่าใด ศักยภาพในการก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
สารทำความเย็นที่มี Global Warming Potential (GWP) สูง คือตัวการทำโลกร้อน
สารทำความเย็นที่มีค่า Global Warming Potential (GWP) สูงที่ใช้งานกันทั่วไป มักจะเป็นสารชนิด Hydrofluorocarbon (HFC) เช่น R-410A ที่มีค่า GWP อยู่ที่ 2,088 และ R-134A ที่มีค่า GWP อยู่ที่ 1,300 ซึ่งแม้สารเหล่านี้จะมีประสิทธิภาพในการทำความเย็นสูง แต่ก็กักเก็บความร้อนมากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หลายพันเท่าเลยทีเดียว!
ก้าวสู่ความเปลี่ยนแปลงด้วยการงดใช้สารทำความเย็นที่มี Global Warming Potential (GWP) สูง
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของสารทำความเย็นที่มีค่า Global Warming Potential (GWP) สูง ส่งผลให้ทั่วโลกต้องการทางเลือกที่ยั่งยืนมากขึ้น โดยหลายประเทศได้ยกเลิกการใช้สารทำความเย็นที่เป็นอันตรายเหล่านี้ และหันมาใช้สารทำความเย็นที่เป็นมิตรต่อสภาพอากาศมากขึ้น เช่น สารชนิด Hydrofluoroolefin (HFO) หรือสารทำความเย็นธรรมชาติ เช่น แอมโมเนียและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
นวัตกรรมเพื่อลดการใช้สารทำความเย็นที่มี Global Warming Potential (GWP) สูง
นักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมทำความเย็นพยายามคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อลดการใช้สารทำความเย็นที่มีค่า Global Warming Potential (GWP) สูง ซึ่งรวมไปถึงการพัฒนาระบบที่ใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการใช้วัสดุที่ก่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลง
ความรับผิดชอบของภาคธุรกิจ
เนื่องจากผู้บริโภคตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้น บริษัทต่าง ๆ จึงมีความต้องการที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วยในการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติที่ยั่งยืน หลายอุตสาหกรรมเริ่มรับมือกับประเด็นเรื่องสารทำความเย็นอย่างรับผิดชอบมากขึ้น ด้วยการใช้สารทำความเย็นที่มีค่า Global Warming Potential (GWP) ต่ำ ซึ่งไม่เพียงทำความเย็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ยังปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยลงได้อีกด้วย
ความร่วมมือจากทั่วโลกเพื่อหยุดการใช้สารทำความเย็นที่มี Global Warming Potential (GWP) สูง
การรับมือกับผลกระทบของสารทำความเย็นที่มีค่า Global Warming Potential (GWP) สูงนั้น จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกประเทศทั่วโลก การทำข้อตกลงระหว่างประเทศต่าง ๆ เช่น พิธีสารมอนทรีออลฉบับแก้ไขที่คิกาลี ประเทศรวันดา มีจุดมุ่งหมายเพื่อยุติการผลิตและการใช้งานสารชนิด Hydrofluorocarbon (HFC) และข้อตกลงเหล่านี้ ถือเป็นแผนการทำงานสำหรับประเทศต่าง ๆ ในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศร่วมกัน
อนาคตของการทำความเย็น
แน่นอนว่าอุตสาหกรรมการทำความเย็นและการปรับอากาศจะต้องพัฒนาต่อไป โดยมุ่งความสำคัญไปที่โซลูชันที่สร้างสมดุลระหว่างประสิทธิภาพของการทำความเย็นและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายหรือแม้กระทั่งการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ความพยายามเพื่อมุ่งสู่การทำความเย็นที่ยั่งยืนกำลังดำเนินไปอย่างจริงจัง และเราทุกคนต้องร่วมมือกันในความพยายามนั้น
“มาร่วมกันสร้างและใช้ระบบทำความเย็นที่ยั่งยืนไปด้วยกันเพื่อโลกของเรา”
ยูนิซัส กรีน เอ็นเนอร์จี เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น, อีอีซี เอ็นจิเนียริ่ง เน็ทเวิร์ค และ บี.กริม ในฐานะผู้พัฒนา “Sustainnovation” หรือนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน มุ่งสนับสนุนและจัดหาโซลูชันนวัตกรรมใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตสภาพภูมิอากาศ พร้อมร่วมสร้างโลกที่สดใสและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น